วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทย ม.3 บทที่๑o คิดก็ได้บุญ



คิดดีก็ได้บุญ



ของที่เราจะใส่บาตร    ต้องเป็นของดี
ของที่เหมาะสมจะถวายพระผู้ทรงศีล
ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์   อยู่ในศีลในธรรม
ก็ต้องถวายของที่บริสุทธิ์เหมาะสมกับท่าน

ใส่บาตร
      นับตั้งแต่พ่อไปราชการชายแดน แม่ก็ต้องตื่นแต่เช้ามืดทุกวันเพื่อเตรียมอาหารใส่บาท ปรกติแม่จะเป็นคนเอะอะโวยวาย แต่มีอยู่ขณะเดียวที่ฉันเห็นว่าคุณแม่นิ่งที่สุด ก็คือกระบวนการที่แม่ใส่บาตรทั้งหมด ที่ฉันรู้ก็เพราะว่าวันนี้เป็นวันเกิดของฉัน แม่เรียกให้ฉันตื่นมาใส่บาตรด้วย แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืนว่า
      วันเกิด ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิตแม่ปลุกฉันด้วยน้ำเสียงเบาๆ
    ไก่ๆ ตื่นเถอะลูก ไปช่วยแม่เตรียมของใส่บาตรฉันร้องฮื้อแต่พอนึกได้ก็รีบลุกขึ้น
      ยามเช้าดูเป็นเวลาที่แม่กว่ายามเย็น แม่ทำอะไรเงียบๆช้าๆ เวลาพูดก็จะเบาเสียง คล้ายกับว่าแม่เกรงใจยามเช้ามากกว่ายามกลางคืน บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงเงียบสงบ นานๆจะได้ยินเสียงสวดของคนมุสลิมดังมาแต่ไกล
    พอเข้ามาในครัว แม่ก็เรียกฉันไปหุงข้าว ข้อนี้ฉันทำได้สบายมาก เพราะเป็นงานประจำของฉัน แค่ซาวข้าว ใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อเสียบปลั๊กแล้วกดปุ่ม  จากนั้นก็มาช่วยแม่ทำกับข้าว แม่บอกว่า จะทำอาหารง่ายๆ คือแกงจืดเต้าหู้หมูสับ  แม่เอาหมูสับถุงเล็กๆที่แยกเตรียมไว้ออกจากตู้เย็น ให้ฉันตำกระเทียมพริกไทยและรากผักชีเข้าด้วยกัน แล้วเอามาคลุกเคล้ากับหมู เหยาะน้ำปลาเล็กน้อยเตรียมไว้แล้วก็เรียกให้ฉันหั่นต้นหอม ผักชี ฉันทำท่าจะซอย เสียงแม่ดุเบาๆ
อย่าซอยหั่นท่อนละนิ้ว ละเอียดนักจะเห็นไปเป็นผักอะไรเล่า   พอน้ำที่ตั้งไว้บนเตาเดือด แม่ก็เอาหมูบดปั้นเป็นก้อนๆใส่  ฉันชะโงกดู อยากจะเป็นคนทาตอนนี้เสียเอง แต่แม่คงกลัวออกมาไม่งาม จึงไม่ให้ฉันปั้นหมู  พอน้ำเดือดอีกครั้ง แม่ก็เอาเต้าหู้หลอด หั่นเป็นสี่ท่อนใส่ลงไป เอาสาหร่ายเผาไฟพอหอมใส่ลงไปอีก พอเดือดทั้งหมด แม่ก็ใส่น้ำปลาแล้วเอาต้นหอมใส่ลงไป แล้วปิดไฟ
ใส่ต้นหอมแล้วปิดไฟเลยนะ มันจะได้เขียวน่ากิน
พอแม่ทำแกงจืดเสร็จ รอซักพักหนึ่ง แม่ก็ตักใส่ถุงพลาสติกรัดยางจนแน่น แม่มีวิธีทำถุงให้พองกลม ซึ่งฉันทำไม่ได้ ทำไมต้องทำให้พองล่ะคะ
เป็นกันชนไงลูกแม่ว่า เวลาคนอื่นมาเบียด จะได้ไม่เสียหาย
พอตักกับข้าวเสร็จ แม่ก็จะเอามะม่วงเขียวเสวยมาปลอกเปลือก แล้วก็หั่นใส่ถุงอีกชุดหนึ่ง คราวนี้แม่ไม่ทำถุงพองๆแล้ว แต่กลับทำปากเปิดแบบไม่รัดยางทั้งหมด
ทำไมไม่ทำพองๆล่ะแม่
ผลไม้นี่ลูก รัดแน่นเดี๋ยวมันเสียหมด
เสียยังไงล่ะคะฉันสงสัย
มันอบไป ถ้าอยู่ในถุงพลาสติก ผลไม้บางอย่างมีน้ำตาลมากจะอับแล้วก็มีกลิ่นเหม็น อย่างสับปะรดหรือมะละกอหรือแม้แต่มะม่วง เราต้องปล่อยให้ลมเข้าบ้าง จะได้ไม่เสีย
เตรีมกับข้าวและผลไม้เสร็จแล้ว แม่ก็ตักข้าวใส่ถ้วยเล็กๆ สอนฉันด้วยว่า
ข้าวหรือกับข้าวใส่บาตร ต้องตักก่อนคนอื่นนะจะตักกินก่อนไม่ได้ ถ้าจะกินก่อนต้องแบ่งใส่บาตรไว้ก่อน
ทำไมล่ะคะฉันสงสัยอีก
ของที่เราจะใส่บาตร ต้องเป็นของดี ของที่เหมาะสมจะถวาย พระผู้ทรงศีล ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่ในศีลในธรรม ก็ต้องถวายของที่บริสุทธิ์เหมาะสมกับท่าน
ถึงตอนนี้ฉันจะคันปากยิบๆ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะพูด
แม่จ๋าแล้วถ้าเราใส่บาตรกับพระไม่ดีล่ะ
แม่นิ่งไปอึดใจใหญ่ ก่อนหันมาถามฉันด้วยน้ำเสียงเรียบๆ
ทำไมหนูถามอย่างนั้นล่ะ หนูเห็นพระไม่ดีมาจากไหนหรือ
อ้าวก็บ่อยไป วันก่อนหนูยังเห็นพระมาขอตังค์คุณยายข้างบ้านเลย
โอ๊ย…” แม่ร้อง นั่นไม่ใช่พระจริงหรอก พระปลอม
นั่นสิแม่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า พระรูปไหนจริงพระรูปไหนปลอม เราจะได้ใส่บาตรได้ถูก
หลวงตาที่แม่เคยไปกราบ ท่านบอกแม่นะว่า ถ้าจะใส่บาตรให้ใส่ไปเลย นึกเสียว่าทำบุญทำทานด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ ทำเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา เพื่อให้ความเป็นพระสงฆ์ยังดำรงอยู่ได้ในสังคมปัจจุบัน เพราะถ้าไม่มีพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้สืบต่อศาสนา คิดเสียอย่างนี้ตั้งแต่แรกก็จะได้ไม่ขุ่นมัว ใจก็เป็นกุศล ถ้าเป็นพระจริงถือว่าได้ทำบุญ ถ้าเป็นพระปลอมถือว่าได้ทำทาน ให้แล้วให้เลย เขาจะเป็นใคร อย่างไร ไม่ต้องสนใจ สนใจการกระทำของตนเอง ไม่สนใจการกระทำของคนอื่น
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ แม่พูดได้ยาวและอารมณ์เย็น ผิดไปจากแม่ที่เคยส่งเสียงปาวๆ ทะเลาะกับน้องชาย
แม่คิดอย่างนี้จริงๆหรือ
คำถามของฉันทำให้แม่ยิ้ม แม่พยายามจ๊ะ
เช้าวันนั้น แม่บอกฉันให้ไปใส่บาตรพระที่แม่มั่นใจว่าไม่ปลอมเพราะมาจากวัดข้างหมู่บ้าน เดินมาเนิบช้าสองรูป แม่กระซิบบอกฉันว่า
อธิษฐานเสียก่อนนะ
ฉันยกถาดทั้งถาดขึ้นเหนือหัวแล้วอธิษฐาน เป็นคำอธิษฐานที่แม่ไม่คาดคิด และไม่เกี่ยวกับฉันมากนัก ฉันอธิษฐานขอให้พ่อปลอดภัยกลับมา
จีวรสีเหลืองมาหยุดตรงหน้า ฉันลุกขึ้นใส่บาตร แม่ช่วยหยิบผลไม้ใส่ตาม เสร็จเรียบร้อย แม่กระตุกเสื้อฉันให้นั่งลงไหว้ พระท่านเดินไปแล้ว แสงเช้าเริ่มส่องโลก สีเหลืองที่มัวหม่นดูสว่างมากขึ้น ยิ่งไกลออกไปยิ่งเหลืองสว่าง
ขอให้ลูกพบแต่สิ่งดีๆ ในชีวิตลูกนะ
แม่เดินมากระซิบบอก ขณะเดินเข้กาบ้าน
ฉันรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบและเยือกเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน และรู้ด้วยว่า อีกไม่นานนัก พอน้องชายของฉันตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น ความสงบเงียบและความเยือกเย็นนี้จะหายไป  และชีวิตประจำวันอันโกลาหลอลหม่านของเราก็จะกลับมาอีก

ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง ใส่บาตร ของ ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) ที่อ่านจบไปนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งสารแก่ผู้อ่านว่า ทุกคนควรมีเหตุผลอธิบายการกระทำทุกอย่างในชีวิต แม่จะเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เข้าใจ หากมีความตั้งใจอันดีอันบริสุทธิ์เป็นจุดยึดมั่น ก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับการกระทำนั้นแล้ว
ผู้เขียนเรื่องนี้ สร้างตัวละครสำคัญเพียง ๒ ตัวและผูกเหตุการณ์ไว้เพียงเหตุการณ์เดียว เพื่อนำความคิดผู้อ่านไปยังประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด เรื่อง ใส่บาตร ไม่ด้ายเน้นความสำคัญของโครงเรื่องที่ต้องมีการหักมุมดังเช่นเรื่องสั้นเรื่องอื่นๆ แต่ผู้เขียนสร้างบทสนทนาและการกระทำของตัวละครเพื่อมุ่งให้ผู้อ่านสะดุดใจและได้ข้อคิด ผู้เขียนมิได้มุ้งที่จะพรรณนาลักษณะบุกคลิกตัวละคร ไม่ให้แม้แต่ชื่อของตัวละครที่เป็นแม่และปรากฏชื่อของลูกว่า “ไก่”เพียงครั้งเดียวแต่ใช้คำเรียกแทนว่าฉัน แม่ ลูก น้อง โดยเฉพาะแม่และลูกจะปรากฏอยู่ตลอดเรื่อง ที่เป็นอย่างนี้เพราะผู้เขียนแสดงมุมมองของคน๒ รุ่นที่มักจะมองโลกต่างกัน และทั้ง๒ฝ่ายฟังความคิดและเห๖ผลของอีกผ่ายหนึ่งก็จะทำให้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุกและเข้าใจกันมากขึ้น  ดังเช่นตอนที่ลูกถามแม่ว่า ถ้าเราใส่บาตรกับไม่ดี  เราจะยังคงตั้งใจทำสิ่งที่ดีกับคนไม่ดีเช่นนั้นหรือ คำตอบของแม่ทำให้คนอ่านเข้าใจว่า การทำบางอย่างที่ดูเข้าใจได้ยากและไม่มีเหตุผลของคนสูงวัยนั้น เมื่อพิจารแล้วจะพบว่ามีเหตุผลกำกับอยู่เสมอ อยู่ที่คนรุ่นใหม่จะถามและต้องการรู้หรือไม่เท่านั้น
นอกจากนี้การทำบางอย่างที่ไม่สำคัญ เช่น การทำแกงจืดหมูสับ การรัดปากถุงพลาสติก ซึ่งต้องมีขั้นตอนตามลำดับนั้น ผู้เขียนตั้งใจใส่เข้ามาในเรื่องเพื่อแสดงให้เห็นว่า  การกระทำบางประการมิได้เป็นเพราะโบราณทำกันมาเช่นนั้น หากแต่มีเหตุผลเพื่อให้สิ่งที่ทำนั้นออกมาดี ถ้าไม่มีคนอธิบายบางครั้งเด็กรุ่นใหม่ก็อาจไม่เข้าใจ ผู้เขียนต้องการโยงไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันว่า ทุกคนต้องมีเหตุผลของตัวเองกำกับ เพื่ออธิบายได้ว่า เหตุใดจึงทำเช่นนั้นทั้งๆที่บางเหตุผลก็อาจเข้าใจได้ยากสำหรับบุคคลอื่น

งานเขียนสร้างสรรค์
ลักษณะของเรื่องที่อ่านนี้ เป็นงานเขียนที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ คือ เป็นงานเขียนในลักษณะความคิดริเริ่ม  โดยผู้เขียนใช้ประสบการณ์ จิตนาการและทักษะทางภาษาของตนเองในการเขียน เพื่อแสดงความคิด ความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆที่พบเห็น ไม่ใช่การเขียนข่าว งานวิชาการ รายงานการวิจัย ผู้อ่านต้องใช้องค์ประกอบทั้งหมดในงานเขียนนั้นช่วยวิเคราะห์และตีความเพื่อทำความเข้าใจ
เรื่องใส่บาตร  นี้ผู้เขียนมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายวิธีทำแกงจืด วิธีรัดปากถุงหรือวิธีใส่บาตร แต่ผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ที่ซ่อนไว้ในเรื่อง ผู้อ่านต้องตีความและทำความเข้าใจจากเรื่องงนี้เอง  การพูดคุยของแม่กับลูกสาวในขณะที่ทำกับข้าวใส่บาตรนั้น  ผู้เขียนประสงค์จะแสดงความแตกต่างทางความคิดของคน ๒ รุ่นในสังคม นอกจากนั้นการอธิบายวิธีรัดปากถุงอย่างละเอียด อาจนำมาตีความการเลี้ยงเด็กวัยรุ่นได้อีกด้วย
อนึ่ง คำว่า ใส่บาตร เป็นคำลำลองมีความหมายเหมือนคำทางการว่า ตักบาตร ผู้เขียนเลือกใช้คำลำลองเป็นชื่อเรื่อง และใช้คำเดียวกันนี้ตลอดเรื่อง เพื่อให้ภาษาที่ใช้เข้ากับความสำพันธ์ของตัวละครในเรื่องซึ่งสนิทสนมกันเป็นแม่ลูกกัน

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถทางปัญญาที่สามารถคิดได้กว้างไกล หลายทิศ หลายทาง คิดดัดแปรงปรุงแต่ง ผสมผสานความคิดเดิมเกิดเป็นความคิดใหม่  อันนำไปสู่การค้นพบที่แปลกใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสังคม ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ อาจอธิบายความคิดสร้างสรรค์ อาจอธิบายความคิดสร้างสรรค์ได้หลายลักษณะ ดังนี้
๑.      การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น ผลงานการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าของโทมัส อัลวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
๒.    ความคิดอเนกนัย เป็นการคิดกว้าง คิดไกล หลายแง่หลายมุม ลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการค้นพบวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ความคิดอเนกนัยยังเน้นด้านปริมาณความคิด คือยิ่งคิดปริมาณก็ยิ่งดี หากคิดได้มากประเภทและมีรายละเอียดด้วย ก็ยิ่งทำให้ความคิดอเนกนัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๓.     จิตนาการ เป็นลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด หรือดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ อดีตที่มนุษย์ฝันอยากจะบินเหมือนนก ซึ่งดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ก็กลายเป็นความจริงได้ในเวลาต่อมา
๔.     ความสามารถที่จะมองเห็นและมีปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว เช่น คนที่มองเห็นความสวยงามของทะเล เกิดความชื่นชม มีความรู้สึกตอบสนองเขียนเป็นกลอนได้ ความคิดสร้างสรรค์ มิใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่พัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในตัวทุกคนเพียงให้เรากล้าที่จะคิด คิดแล้วทดลองทำ ทำแล้วนำมาคิดใหม่ จากความคิดหนึ่งสู่อีกความคิดหนึ่ง ความคิดสร้างก็จะเกิดขึ้นในที่สุด

องค์ประกอบของการเขียนสร้างสรรค์
การเขียนสร้างสรรค์อาจมีเนื้อหาและรูปแบบต่างๆ  ตามความคิดของผู้เขียน  อาจใช้รูปแบบหรือฉันทลักษณ์ที่มีการกำหนดไว้เป็นที่รู้จักทั่วไป  หรืออาจมีการดัดแปรง หรือสร้างสรรค์ใหม่ตามความประสงค์ของผู้เขียน องค์ประกอบสร้างสรรค์ที่มักพบในการเขียนมีดังนี้
     เนื้อหา
     การเขียนสร้างสรรค์นั้นน่าสนใจตรงที่อาจเป็นเรื่องที่นำมาจากชีวิตจริงหรือประสบการณ์ของผู้เขียน  เป็นเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น หรือเป็นทั้งเรื่อจริงและเรื่องแต่งรวมกันอยู่ด้วย เพื่อนำไปสู่จุดมุงหมายของการนำเสนอความคิดที่ซ่อนไว้ในเรื่องราวเหล่านั้น  ผู้เขียนจะต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่นำมาแฝงไว้อย่างเต็มที่ มิใช่สร้างขึ้นเพียงลอยๆ 
     ประโยคความรวม
     เรื่องใส่บาตร  มีประโยคกรรมปรากฏอยู่ เช่น
     ฉันรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบและเยือกเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน และรู้ด้วยว่า อีกไม่นานนัก พอน้องชายของฉันตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น ความสงบเงียบและความเยือกเย็นนี้จะหายไป  และชีวิตประจำวันอันโกลาหลอลหม่านของเราก็จะกลับมาอีก
ประโยคในภาษาไทยมีทั้งประโยคเน้นประประธานและประโยคเน้นกรรม
ประโยคเน้นประธานคือประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธาน  มักใช้โครงสร้างประธาน-กริยา เช่น แมวร้อง รถแล่น  หรือโครงสร้าง                 ประธาน-กริยา-กรรม  เช่น ปลาฮุบเหยื่อ  พ่อปลูกต้นไม้
ส่วนประโยคเน้นกรรมคือประโยคขึ้นต้นด้วยกรรม จะอยู่ในโครงสร้าง กรรม-ประธาน-กริยา เช่น ข้าวจานนี้ฉันยังไม่ได้กินเลย  หรือโครงสร้างกรรม-กริยา เช่น ข้าวจานนี้ยังไม่ได้กิน อาจมีคำว่า
ประโยคเน้นกรรมอาจมีคำว่า ถูก ปรากฏอยู่หลังกกรม เช่น  ข้าวถูกแมลงวันตอม นักเรียนถูกครูตำหนิ เสื้อถูกขโมย บ้านถูกรื้อ ประโยคที่มีคำว่าถูกอยู่ด้วยมักมีความหมายพ่วงว่า “ไม่ดี ไม่น่าจะได้รับ” ติดอยู่ด้วยดังจะเห็นว่า ผู้เขียนใช้ตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น เพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันคือตื่นหมายถึง ตื่นเองเองไม่ต้องปลุก ส่วนถูกปลุกให้ตื่นหมายถึง ตื่นเพราะมีคนมาปลุกมิได้ตื่นเอง และที่สำคัญ ถูกปลุกให้ตื่น ยังมีความหมายพ่วงติดว่า ยังไม่อยากตื่นในเวลาที่ต้องตื่นนั้น และต้องมีผู้อื่นมาช่วยปลุกให้ตื่น

คำบุพบท
พิจารณาประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
แม่บอกตั้งแต่กลางคืนว่า วันเกิด ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
ฉันรู้สึกถึงความสงบเงียบ และความเยือกเย็นที่ยังแผ่ซานอยู่ภายใน
วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน
คำว่า ตั้งแต่, แก่, ด้วย, ถึง, ของ ในประโยคบ้างต้นนี้ คือ คำบุพบท คำบุพบท คือ คำที่อยู่หน้านาม หรือ คำสรรพนามและรวมกับคำนามแล้วกลายเป็นบุพบทวลี มักทำหน้าที่ขยายข้อความ หรือบอกรายละเอียดเพิ่มเติมให้แก่คำที่อยู่ข้างหน้านั้น
แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน
ตั้งแต่ เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ตอนกลางคืน เพื่อขยายความของกิริยา บอกให้ทราบว่า บอกเมื่อไร
                ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต
แก่ เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ชีวิต เพื่อขยายความของกิริยาวลี เป็นมงคลให้ทราบว่ามงคลนั้นเกี่ยวกับอะไร
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
ด้วย เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ความแปลกใจ เพื่อขยายความของกิริยา มองเพื่อให้ทราบว่ามองด้วยอาการใด
ฉันรู้สึกถึงความสงบเงียบ
ถึง เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ความสงบเงียบ เพื่อขยายความของกิริยา รู้สึกให้ทราบว่าสิ่งที่รู้สึกคืออะไร
วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน
ของ เป็นคำบุพบทนำน้าคำสรรพนาม ฉัน เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของวันเกิด

คำเชื่อม
                ในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ คำที่พิมพ์ตัวคำ คือคำเชื่อม เช่น
                บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงสงบ
                พอเข้ามาในครัวแม้ก็เรียกฉันไปหุงข้าว ข้อนี้สบายมากเพราะเป็นงานทำประจำของฉัน แค่ซาวข้าวใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม่อ เสียบปลักแล้วกดปุ่ม
                คำว่า ดังนั้น.....จึง, พอ....ก็, เพราะ....แล้วก็, แล้ว ในประโยคข้างต้นคือคำเชื่อม คำเชื่อมมีหลายชนิดที่จะกล่าวถึงในข้อนี้คือ คำเชื่อมที่ตามด้วยกริยาวลีหรือประโยคย่อย คำเชื่อมแต่ละคำใช้เชื่อมและบอกความสัมพันธ์ของกิริยาวลีหรือประโยคที่เชื่อมแตกต่างกัน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงสงบ
                ดังนั้น...จึง เป็นคำเชื่อมที่ใช้เชื่อมประโยคที่ตามมา คือ ยามเช้าสงบ เพื่อบอกผล ส่วนบ้านของเราอยู่ในซอยลึก เป็นประโยคบอกเหตุ
                                พอเข้ามาในครัวแม้ก็เรียกฉันไปหุงข้าว
                พอ เป็นคำเชื่อมที่ใช้เชื่อมประโยคที่ตามมา คือ (ฉัน) เข้ามาในครัวเพื่อบอกลำดับเหตุการณ์ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและมีอีกเหตุการณ์หนึ่ง เกิดตามมาอย่างต่อเนื่อง คือเหตุการณ์แม่เรียกฉันไปหุงข้าว เหตุการณ์หลังมีคำเชื่อม ก็ อยู่ด้วย
                แค่ซาวข้าวใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อ
                แล้วก็ เป็นคำเชื่อมประโยค ๓ ประโยค คือ แค่ซาว ประโยคหนึ่ง ข้าวใส่น้ำ ประโยคหนึ่ง ตั้งในหม่อ อีกประโยคหนึ่ง เพื่อบอกลำดับเหตุการณ์๓เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ แค่ซาวข้าว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ใส่น้ำ เกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา ตั้งในหม่อเป็นลำดับสุดท้าย

คำอุทาน
ในเรื่องที่อ่านมีคำอุทานอยู่หลายคำ  เช่น
       อ้าวก็บ่อยไป วันก่อนหนูยังเห็นพระมาขอตังค์คุณยายข้างบ้านเลย
        โอ๊ย…” แม่ร้อง นั่นไม่ใช่พระจริงหรอก พระปลอม
ผู้เขียนใช้คำอุทานแสดงความรู้สึกของตัวละคร อ้าว  แสดงความแปลกใจหรือการโต้แย้ง  โอ๊ย แสดงความไม่เห็นด้วย ทำให้ไม่ต้องใช้คำอธิบายยืดยาว ดังนั้นการเลือกใช้คำอุทานที่เหมาะสมในการเขียน  จะช่วยสื่อความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้อ่านได้รับอัฐรสเพิ่มมากขึ้นด้วย










วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าครับ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...



 1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส



2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
          
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

                                                           
 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

       
   ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          
หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ 
และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน

 การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา


การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

          
 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
          
 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
          
 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
          
 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
          
 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
          
 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
          
 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
          
 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
          
 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
          
 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

          
 สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          
 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

          
 มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท

          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต



แบบทดสอบ วิชาภาษาไทย 10

แบบทดสอบเรื่องคิดดีก็ได้บุญ จำนวน 10 ข้อ
วิชาภาษาไทย(รหัสท23101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่3
เรื่องคิดดีก็ได้บุญ จำนวน 10 ข้อ
โดย เด็กหญิง เขมจิรา เเสนเลิศ โรงเรียนผาเเดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ผู้ที่ประพันธ์เรื่องตักบาตร มีนามปากกาว่าอย่างไร
   แสงกระจ่าง
   แสงสว่าง
   แสงสีทอง
   แสงตะวัน

ข้อที่ 2)
ข้อใดคือประโยคเน้นกรรม
   แมวร้อง
   ข้าวจานนี้ฉันยังไม่ได้กินเลย
   รถแล่น
   พี่ขายของ

ข้อที่ 3)
ข้อใดไม่ใช่ประโยคเน้นกรรม
   ข้าวถูกแมลงวันตอม
   นักเรียนถูกครูตำหนิ
   เสื้อถูกขโมย
   เสื้อตัวนี้ใครซื้อให้

ข้อที่ 4)
ข้อใดคือประโยคเน้นประธาน
    พ่อปลูกต้นไม้
   เสื้อถูกขโมย
   บ้านถูกรื้อ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 5)
ข้อใดเป็นคำเชื่อม
   ดังนั้น…….จึง
   ก่อน……ตอน
   แล้ว……แต่
   แต่…เมื่อ

ข้อที่ 6)
ประโยคใดมีคำเชื่อมอยู่
   พอเข้ามาในครัว แม่ก็เรียกฉันไปหุงข้าว
   แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน
   ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
   พ่อปลูกต้นไม้

ข้อที่ 7)
ข้อใดไม่ใช่คำบุพบทนำหน้าคำนาม
   ตั้งแต่
   แก่
   .ด้วย
   ของ

ข้อที่ 8)
ประโยคใดมีคำบุพบุทอยู่
   ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
   แม่ปลูกผักคะน้า
   ครูลงโทษนักเรียน
   ผิดทุกข้อ

ข้อที่ 9)
ข้อใดเป็นคำเชื่อมที่เชื่อมประโยค๓ประโยค
   แล้ว
   และ
   แล้วก็
   และก็

ข้อที่ 10)
ข้อใดเป็นคำอุทานแสดงความแปลกใจ
   อ้าว….
   โอ๊ย……
   ว๊าย…..
    อุ๊ย……