วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มองโลกอย่างวรรณกรรม


                                

                       บทที่ 2     มองโลกอย่างวรรณกรรม

       
 "การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง       
   ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ
 ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่นการโน้มน้าวใจให้รักชาติ                                      

         ห่วงใยสิ่งแวดล้อม  เห็นใจคนจน ฯลฯ"


     การโฆษณาสินค้าหรือบริการในสื่อต่าง ๆ บางรายการอาจบอกกล่าวตรง ๆ บางรายการเสนอเป็นละครฉากสั้น ๆ   มีตัวละครแสดง บางรายการแสดงในลักษณะทำให้เห็นสิ่งที่เกินจริงหรือตลกขบขัน     บางรายการก็เสนอภาพที่สับสน  วุ่นวาย การโฆษณามีจุดมุ่งหมายสร้างความสนใจให้ผู้คนสะดุดตา สะดุดใจ และจดจำสินค้าหรือบริการที่โฆษณา ผู้สร้างโฆษณาอาจใช้วิธีการต่างๆ ในการส่งสาร เช่น บอกตรง ๆ ว่าช่วยกันรักษาแม่น้ำเจ้าพระยาให้สะอาด หรือใช้คำที่คล้องจองกัน ใช้คำที่กระตุ้นให้เกิดความประทับใจ เช่น แค่ทิ้งคนละชิ้น  เจ้าพระยาก็สิ้นแล้ว  การใช้คำว่า “สิ้น” สะกิดอารมณ์ผู้ฟัง ให้ตระหนักถึงผลเสีย ใคร ๆ ก็อยากจะ “เริ่ม” มากกว่า “สิ้น” และถ้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย
“สิ้น” แล้วคนไทยจะอยู่อย่างสุขสบายต่อไปอย่างไร คนที่ฟังแล้วคิดต่อ ก็จะได้รับ “สาร” จากบทโฆษณานี้ 

   การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่น ๆ  ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่น การโน้มน้าวใจให้รักชาติ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เห็นใจคนจน ฯลฯ แต่บางเรื่องเกี่ยวกับคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น นักศึกษา นักธุรกิจ พ่อแม่  ฯลฯ ไม่สามารถจะเร้าความรู้สึกของ “คนนอก” ด้วยวิธีของ “รักเจ้าพระยา” ได้ จึงต้องใช้กลวิธีอื่น เช่น การสร้างอารมณ์หรรษา  
     
             การสร้างอารมณ์หรรษาในบทโฆษณา อาจใช้กลวิธีเดียวกับบทละครหรือนวนิยาย เพียงแต่เจาะลงที่ฉากหนึ่งและให้จบเบ็ดเสร็จในตอนสั้น ๆ องค์ประกอบที่เหมือนกันมีเนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา แนวคิด เป็นต้น แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือศิลปะ  ถ้านับว่าวรรณกรรมคืองานประพันธ์ที่สื่อความรู้สึกนึกคิดอย่างมีศิลปะ  ศิลปะในที่นี้หมายถึง การเลือกรูปแบบ การสรรคำ การแสดงออก การทำให้ผู้ชมงานศิลปะเกิดความหยั่งเห็น เป็นต้น โฆษณาบางชิ้นก็เป็นวรรณกรรมได้
         โฆษณาดี ๆ หลายบทดูเพลิน น่าติดตามยิ่งกว่าตัวรายการเสียอีก   ยิ่งถ้าได้   “อ่าน” โฆษณาอย่างวรรณกรรม ก็จะได้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง
            
โฆษณาดี ๆ มีสารที่จรรโลงใจให้ผู้ดูได้หยั่งเห็นและฉุกคิดอยู่มากเหมือนกัน เช่นเรื่องความรับผิดชอบ ความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกกับญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น ความเข้าใจของลูกตัวน้อย ๆ เป็นแรงใจให้พ่อแม่ได้เป็นอย่างดี เช่น พ่อลูกขับรถกลับบ้านในยามค่ำ ลูกถามพ่อว่าทำไมต้องทำงานหนักด้วย พ่อบอกว่า จะได้ซื้อบ้านใหญ่ ๆ ให้ลูก  เผอิญรถต้องเบรกกะทันหันเห็นอันตรายจ่ออยู่ตรงหน้าแล้ว
ลูกจึงตอบว่า เราอยู่บ้านเล็ก ๆ ก็ได้ เท่ากับบอกว่าหนูเป็นห่วงพ่อ อย่าทำงานหนักมมากจนเกินไป เพื่อสิ่งนี้เลย เจ้าของสินค้าได้ประโยชน์ถึง ๒ ทาง  ทางหนึ่งมีผู้รับรู้ว่าสินค้ามีคุณภาพอีกทางหนึ่งช่วยสร้างสำนึกที่ดีในใจผู้เป็นลูก
                            

             ตัวอย่างของความรู้สึกดี ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ความภูมิใจในตัวพ่อแม้จะมีอาชีพที่ใครๆ มองว่าสามัญมาก เด็กชายคนหนึ่งบอกเพื่อน ๆ ถึงอาชีพของพ่อและยังยืนยันกับพ่อว่า โตขึ้นเขาจะประกอบอาชีพอย่างพ่อ เพราะทึ่งในฝีมือการทำงานของพ่อซึ่งพ่อบอกว่าเป็นเคล็ดลับ  ยิ่งทึ่งหนักขึ้นไปอีกเมื่อพ่อ
บอกลูกว่าได้เคล็ดลับมาจากปู่ มรดกที่พ่อได้จากปู่ ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง แต่เป็นกลเม็ดที่ทำให้เป็นช่างฝีมือเหนือใคร มรดกนี้เด็กชายก็กำลังจะได้รับจากพ่ออีกต่อหนึ่ง จึงน่าภูมิใจยิ่งนัก  ดูโฆษณาอย่างนี้แล้วสบายใจ อิ่มใจเหมือนได้อ่าน หนังสือดี ๆ เรื่องหนึ่ง     ถ้าผู้สร้างโฆษณาตั้งอกตั้งใจ พิถีพิถัน และมีรสนิยมอย่างนี้มาก ๆ ก็คงจะดี
           ข้อคิดจากเรื่อง
โฆษณาที่มีศิลปะ ควรนับเป็นวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะโฆษณาที่เลือกรูปแบบการโน้มน้าวที่น่าสนใจ มีการสรรคำ มีการนำเสนอที่ชวนให้ติดตาม โฆษณาทำหน้าที่เหมือนวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพสังคม โฆษณาที่ดีมีสารจรรโลงใจ ทำให้ได้รับข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรือทำให้สบายใจ เช่น โฆษณากระตุ้นให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบเรื่องรักษาสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือโฆษณาที่ชี้ให้เห็นความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
      เรียนรู้เรื่องโฆษณา
โฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจประเภทหนึ่ง มุ่งจูงใจเพื่อประโยชน์ในการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งยังจูงใจให้ผู้รับสารประพฤติปฏิบัติตามความมุ่งหมายของผู้โฆษณาด้วย
      ส่วนประกอบของโฆษณา  
        โฆษณามีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้และการโน้มน้าวใจ                                                                                                                   ๑. เนื้อหา ชี้ให้เห็นแต่ความดีพิเศษของสินค้า การบริการ หรือกิจกรรมที่โฆษณา
๒. รูปแบบการนำเสนอโฆษณามีรูปแบบต่างๆเช่น เป็นคำขวัญ ข้อความสั้น ๆ บทสนทนา ตำนาน นิทาน เป็นต้น
๓. ภาษาโฆษณา โฆษณาจะใช้ทั้งคำพูดและภาษาที่สื่อด้วยสิ่งอื่นๆเช่น ท่าทาง รูปภาพเป็นต้น ในโฆษณามักจะใช้ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ ใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ
๔.การโน้มนาวใจ การโน้มน้าวใจของโฆษณามีหลายวิธีเช่น ๔.๑อ้างสถิติบุคคลหรือองค์กร ๔.๒ ตอบสนองธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งห่วงใยสุขภาพ ความปลอดภัย  ความสุข 
ความมั่นคงในชีวิต


        ประโยชน์
โทษของการโฆษณา
      โฆษณามีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ของโฆษณา คือ  
เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รู้จักสินค้าหลายประเภท ทำให้มี
โอกาสเลือกสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมหรือตรงตามความต้องการ การบริการที่สะดวก ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัด   และรู้จักกาลเทศะ                                            โทษของโฆษณา เช่น  คำโฆษณาที่เกินจริงทำให้เข้าใจผิด รือหลงผิดไปตามคำโฆษณาที่มุ่งแต่จะขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น ทำให้ตัดสินใจ
 เสนอค่านิยมที่ผิด ๆ เช่น การใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการ การพูดปดหลอกลวงเพื่อให้ได้ของของผู้อื่น การกระทำที่ผิดมารยาทของวัฒนธรรมไทย  
     โฆษณาอาจสะท้อนภาพสังคมในนนนแต่ละสมัยได้ โฆษณาบางเรื่องอาจแสดงให้เห็นค่านิยมที่เปลี่ยนไปของสังคมไทย  โฆษณาบางเรื่องสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยแปลงของค่านิยมของสังคมไทยไปในทางที่ไม่ดีงามไม่เหมาะสม เช่น ผู้หญิงเปิดเผยเนื้อตัวมากขึ้น ไม่สงวนท่าทีไม่สนใจผู้ชายและบางครั้งกล้าแสดงความสนใจฝ่ายชายก่อน โฆษณาในปัจจุบันยังนิยมให้เด็กๆโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นเป็นสื่อในการโฆษณา บางครั้งให้เด็กทำตัวเกินวัยในเรื่องการมีคู่

        อิทธิพลของภาษาโฆษณา
ผู้คิดภาษาโฆษณา พยายามสรรคำที่กระชับ เข้าใจง่าย มีความเปรียบที่ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าและบริการบางครั้งจึงไม่เคร่งครัดในเรื่องภาษา จะต้องใช้ภาษาแบบที่เคยใช้มาแต่เดิมเช่น อาจนำคำที่ไม่เคยปรากฏร่วมกันมาเรียงอยู่ด้วยกัน เช่น นำคำว่า โดน มาใช้กับคำว่า ใจ เป็นโนใจ เพื่อสื่อความหมายว่า ประทับใจอย่างมาก ตรงตามความต้องการอย่างยิ่ง การใช้ภาษาโดยไม่มีกรอบที่เคยใช้ ทำให้เกิดผลสำคัญ ๒ ประการ มีผลดังนี้
๑. ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ภาษาที่มีความงามระดับวรรณศิลป์ เช่น คำขวัญโฆษณา
เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ มีลักษณะทางวรรณศิลป์คือ ใช้คำง่าย กระชับ สื่อความหมายกว้างขวางลึกซึ้งคำว่า เที่ยว-ไปมีเสียงสัมผัสพยัญชนะ/ท/ คำว่าเมือง-ไม่ มีสัมผัสพยัญชนะ/ม/ คำว่า ไท-ไม่ ไปมีเสียงสัมผัสสระ ไอ คำว่า ไม่ไปไม่รู้ มีจังหวะของคำที่สมดุล ใช้คำปฏิเสธ ไม่ ร่วมกับคำกริยา ไป และ รู้ ตามลำดับนอกจากนี้ คำว่า เที่ยว ไป และ รู้  ยังสื่อความหมายที่ลึกซึ้งว่า การท่องเที่ยวคือ การเดินทางไปให้ได้พบสิ่งใหม่เพื่อจะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีค่า


๒.เป็นแบบอย่างที่ให้คนในสังคมใช้ตามจนเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาษา เช่น เกิดคำใหม่ วลีใหม่ สำนวนใหม่ซึ่งไม่เคยมีใครใช้มาก่ินในขณะเดียวกันคำ วลี และสำนวนซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันและใช้มาแต่เดิมเริ่มนิยมใช้น้อยลง เช่น เมื่อคนในสังคมใ้ช้คำว่า โดนใจ แทนคำว่า ประทับใจ ถูกใจ ถูกต้องแล้วครับ แทนคำว่า ถูก เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะเป็นภาษาที่เปลี่ยนไปได้ในที่สุด อาจทำให้คนที่อยู่ต่างสมัยกันเข้าใจคำคำเดียวกันไปคนละทาง


ที่มา:http://jame-m3.blogspot.com เรื่อง มองโฆษณษอย่างวรรณกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบ วิชาภาษาไทย 10

แบบทดสอบเรื่องคิดดีก็ได้บุญ จำนวน 10 ข้อ
วิชาภาษาไทย(รหัสท23101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่3
เรื่องคิดดีก็ได้บุญ จำนวน 10 ข้อ
โดย เด็กหญิง เขมจิรา เเสนเลิศ โรงเรียนผาเเดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ผู้ที่ประพันธ์เรื่องตักบาตร มีนามปากกาว่าอย่างไร
   แสงกระจ่าง
   แสงสว่าง
   แสงสีทอง
   แสงตะวัน

ข้อที่ 2)
ข้อใดคือประโยคเน้นกรรม
   แมวร้อง
   ข้าวจานนี้ฉันยังไม่ได้กินเลย
   รถแล่น
   พี่ขายของ

ข้อที่ 3)
ข้อใดไม่ใช่ประโยคเน้นกรรม
   ข้าวถูกแมลงวันตอม
   นักเรียนถูกครูตำหนิ
   เสื้อถูกขโมย
   เสื้อตัวนี้ใครซื้อให้

ข้อที่ 4)
ข้อใดคือประโยคเน้นประธาน
    พ่อปลูกต้นไม้
   เสื้อถูกขโมย
   บ้านถูกรื้อ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 5)
ข้อใดเป็นคำเชื่อม
   ดังนั้น…….จึง
   ก่อน……ตอน
   แล้ว……แต่
   แต่…เมื่อ

ข้อที่ 6)
ประโยคใดมีคำเชื่อมอยู่
   พอเข้ามาในครัว แม่ก็เรียกฉันไปหุงข้าว
   แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน
   ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
   พ่อปลูกต้นไม้

ข้อที่ 7)
ข้อใดไม่ใช่คำบุพบทนำหน้าคำนาม
   ตั้งแต่
   แก่
   .ด้วย
   ของ

ข้อที่ 8)
ประโยคใดมีคำบุพบุทอยู่
   ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
   แม่ปลูกผักคะน้า
   ครูลงโทษนักเรียน
   ผิดทุกข้อ

ข้อที่ 9)
ข้อใดเป็นคำเชื่อมที่เชื่อมประโยค๓ประโยค
   แล้ว
   และ
   แล้วก็
   และก็

ข้อที่ 10)
ข้อใดเป็นคำอุทานแสดงความแปลกใจ
   อ้าว….
   โอ๊ย……
   ว๊าย…..
    อุ๊ย……